“น้องหยดน้ำ” ลูกสาวสองนักแสดงรุ่นใหญ่ “ขวัญฤดี-อนุวัฒน์” กับหวานใจนักธุรกิจสุดหล่อ
นักแสดงรุ่นใหญ่ ขวัญฤดี-อนุวัฒน์ ภาพอบอุ่นลูกสาว น้องหยดน้ำ กับหวานใจ ร่วมปาร์ตี้ในครอบครัว
ต้องบอกว่าเป็นครอบครัวคนบันเทิงตัวจริงสำหรับครอบครัวของ นักแสดงรุ่นใหญ่ ขวัญ-ขวัญฤดี กล่อมกลม และสามี ปู-อนุวัฒน์ นิวาตวงศ์ และลูกสาวคนดังเพียงคนเดียว น้องหยดน้ำ นัดดาภรณ์
ซึ่งหากใครติดตามไลฟ์สไตล์ของ น้องหยดน้ำ เธอเป็นลูกไม้ที่หล่นใต้ต้นตัวจริงนอกจากจะสวยเหมือนคุณแม่แล้ว ในด้านผลงานของวงการบันเทิง น้องหยดน้ำ เคยถ่ายแบบออกสื่อต่างๆ และมีภาพสวยๆ ลงอินสตาแกรมตลอด เรียกว่าสวยรวยเก่งครบมากๆ
และภาพที่สร้างรอยยิ้มให้กับทุกคนได้เห็นนั่นคือ น้องหยดน้ำ ได้เกี่ยวก้อยหวานใจนักธุรกิจทายาทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ มาร่วมงานปาร์ตี้เล็กๆ ของครอบครัวเป็นงานเลี้ยงครบรอบแต่งงานของ แม่ขวัญ-พ่อปู ในงานนี้บรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่นและความรัก ที่ทั้งคู่ได้แสดงให้เห็นถึงความสนิทสนมและความรักที่มีต่อกันภายในครอบครัวอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ยังได้เห็นภาพหวานๆ ของ น้องหยดน้ำ กับหวานใจในโมเมนต์ต่างๆ เป็นภาพที่น่ารักและโรแมนติก
ที่แฟนๆ หลายคนต่างยินดีและแสดงความยินดีให้กับความรักครั้งนี้ของ น้องหยดน้ำ
Categories: NEWS

เปิดเงื่อนไขการใช้สิทธิ์มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ
เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ และนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง ได้ร่วมกันแถลงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่รัฐบาลนำมาใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่
สำหรับมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีเป้าหมายที่จะสนับสนุนให้เกิดการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการลดภาระให้กับผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยด้วยการลดค่าธรรมเนียมการโอนและการจดจำนอง และสนับสนุนให้ผู้ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยสามารถเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ด้วยเงื่อนไขที่ผ่อนปรนกว่าปกติ ในขณะเดียวกันจะช่วยเร่งระบายสินค้าคงค้างในตลาดทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล และในภูมิภาค (อีอีซี) ที่มีมากกว่า 2.5 แสนหน่วย และสร้าง Multiplier Effect หรือผลทวีคูณต่อระบบเศรษฐกิจ จากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
ทั้งนี้ ในรายงานที่กระทรวงการคลังเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ประเมินว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์มูลค่ารวม 8 แสนล้านบาท ซึ่งจะช่วยเพิ่มการบริโภคภายในประเทศได้ประมาณ 1.18 แสนล้านบาทต่อปี และเพิ่มการลงทุนได้ 4.65 แสนล้านต่อปี และส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเพิ่มขึ้น 1.58% ต่อปี เมื่อเทียบกับกรณีไม่มีมาตรการ ในขณะที่รัฐจะสูญเสียรายได้จากค่าโอนและค่าจดจำนองรวม 23,822 ล้านบาท และรายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกสร้างบ้านอีกประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี

สำหรับมาตรการที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย
1.การปรับปรุงค่าธรรมเนียมโอนและจดจำนอง เดิมค่าโอนลดเหลือ 2% เหลือ 0.01% ส่วนการจดจำนองจาก 1% เหลือ 0.01% เช่นเดียวกัน และขยายเพดานราคาอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยใหม่และมือสอง ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ และคอนโดมิเนียม ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เป็นราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2567 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567
มาตรการดังกล่าวจะช่วยแบ่งเบาภาระการซื้อที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนซึ่งต้องเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย จากเดิมที่ต้องเสียค่าโอน 2% และค่าจดจำนอง (กรณีกู้เงินกับสถาบันการเงิน) อีก 1% รวมเป็น 3% เหลือค่าโอน 0.01% และค่าจดจำนอง 0.01% หรือรวม 0.02% เท่ากับว่าจากเดิมจะเสียค่าธรรมเนียมโอน+จดจำนองรวมกันล้านละ 3 หมื่นบาท จะเหลือล้านละ 200 บาท
–บ้าน-คอนโดราคา 2 ล้านบาท จากเดิมต้องเสียค่าธรรมเนียมโอน 6 หมื่นบาท จะเหลือ 400 บาท
–บ้าน-คอนโดราคา 3 ล้านบาท จากเดิมต้องเสียค่าธรรมเนียมโอน 9 หมื่นบาท จะเหลือ 600 บาท
–บ้าน-คอนโดราคา 4 ล้านบาท จากเดิมต้องเสียค่าธรรมเนียมโอน 1.2 แสนบาท จะเหลือ 800 บาท
–บ้าน-คอนโดราคา 5 ล้านบาท จากเดิมต้องเสียค่าธรรมเนียมโอน 1.5 แสนบาท จะเหลือ 1,000 บาท
–บ้าน-คอนโดราคา 6 ล้านบาท จากเดิมต้องเสียค่าธรรมเนียมโอน 1.8 แสนบาท จะเหลือ 1,200 บาท
–บ้าน-คอนโดราคา 7 ล้านบาท จากเดิมต้องเสียค่าธรรมเนียมโอน 2.1 แสนบาท จะเหลือ 1,400 บาท

2.การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับประชาชนที่มีการว่าจ้างปลูกสร้างบ้านกับผู้รับเหมาที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีการทำสัญญาที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 10,000 บาทต่อทุกจำนวนค่าก่อสร้าง 1 ล้านบาท แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท หรือค่าก่อสร้างบ้านไม่เกิน 10 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2567 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 โดยสามารถลดหย่อนภาษีได้ในปีภาษี 2567 และ 2568
เงื่อนไขสำหรับมาตรการนี้ ได้แก่
1.ผู้ว่าจ้างสร้างบ้านต้องเป็นบุคคลธรรมดา
2.ผู้รับเหมาก่อสร้างทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.เงินค่าจ้างก่อสร้าง ตามสัญญาจ้างที่ได้กระทำขึ้นและเริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568
4.เงินค่าก่อสร้าง 1 ล้านบาท สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ 1 หมื่นบาท โดยเศษของ 1 ล้านบาทให้ปัดลง และหักลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท
5.หลักฐานสำหรับการใช้สิทธิ์ 1.สัญญาจ้างก่อสร้างที่เสียอากรแสตมป์ด้วยวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 2.ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบที่ได้รับจากการชำระค่าก่อสร้างตามสัญญาให้แก่ผู้รับเหมาก่อสร้าง