อุ๊ยยังไง!? เจนิเฟอร์-อั๋น อวดภาพสมาชิกใหม่ มีลูกคนที่ 4 หรอ
ต้อนรับสมาชิกใหม่
อุ๊ยยังไง!? เจนิเฟอร์-อั๋น อวดภาพสมาชิกใหม่ มีลูกคนที่ 4 หรอ
นักแสดงสาว เจนิเฟอร์ และสามี อั๋น อวดโมเมนต์น่ารักกับหลานชายตัวน้อยในโซเชียล ทำแฟนคลับแอบเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสมาชิกใหม่ของครอบครัว
ในโพสต์ดังกล่าว เจนิเฟอร์ได้เขียนแคปชั่นว่า: “Our precious little one “Kyra James” has arrived! We feel so blessed to welcome you into our family.
Your cousins have been eagerly waiting to shower you with love, care and of course…..make plenty of trouble with you! Congratulations @mariejessp @ryanjames1395
to the all new Mommy and Daddy welcome to the club!! You both are wonderful parents already.”แพ็กเกจท่องเที่ยวสำหรับครอบครัว
“เจ้าตัวน้อยสุดล้ำค่าของเรา “Kyra James” มาถึงแล้ว! เรารู้สึกโชคดีมากที่ได้ต้อนรับเธอเข้าสู่ครอบครัวของเรา ลูกพี่ลูกน้องต่างรอที่จะมอบความรัก ความเอาใจใส่
และแน่นอน… สร้างความปั่นป่วนไปพร้อมกับเธอ! ขอแสดงความยินดีกับ @mariejessp และ @ryanjames1395 กับการเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ยินดีต้อนรับเข้าสู่ชมรม! พวกคุณเป็นพ่อแม่ที่ยอดเยี่ยมมากอยู่แล้ว”
งานนี้ถึงจะไม่ใช่สมาชิกใหม่ของบ้านเจนิเฟอร์-อั๋น แต่แฟนๆ ก็แห่คอมเมนต์แสดงความยินดีและชื่นชมความน่ารักของน้อง Kyra James กันล้นหลาม
Categories: NEWS
ค่าโอนบ้าน 2568 ต้องจ่ายเท่าไหร่ แจกสูตรคำนวณค่าโอนบ้าน
อัปเดตล่าสุด 18 ธันวาคม 2567 • ใช้เวลาอ่าน 2 นาทีซื้อบ้านหลังแรก
รู้หรือไม่ว่าการซื้อบ้านมีขั้นตอนและค่าโอนบ้านที่ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ นอกเหนือจากค่าบ้าน เพราะจะมีการเรียกเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมโอนบ้านหลายรายการในวันโอนกรรมสิทธิ์บ้าน
ผู้ซื้อบ้านจึงจำเป็นต้องรู้ข้อมูลเบื้องต้นว่า ค่าธรรมเนียมโอนบ้านนั้นมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และที่สำคัญใครเป็นคนจ่าย เพื่อไม่ให้เสียผลประโยชน์หรือโดนเอาเปรียบจากผู้ขาย เตรียมพร้อมให้การโอนบ้านเป็นไปอย่างราบรื่นและเสร็จสมบูรณ์ในวันเดียว และไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
- ค่าโอนบ้านคืออะไร
- ใครรับผิดชอบค่าโอนบ้าน
- คำนวณค่าโอนบ้าน เพื่อไม่เสียรู้ให้ต้องจ่ายแพง
- มาตรการรัฐลดค่าโอน-จดจำนอง
ค่าโอนบ้านคืออะไร
คือค่าใช้จ่ายที่เกิด ณ สำนักงานที่ดินในวันโอนบ้าน ซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่ค่าธรรมเนียมโอนบ้านหรือค่าโอนกรรมสิทธิ์บ้านเท่านั้น แต่ยังมีค่าใช้จ่ายอีกหลายรายการ เช่น ค่าอากร ค่าภาษีเงินได้ ค่าจดจำนอง เป็นต้น หากซื้อบ้านกับทางโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผู้ซื้อบ้านอาจจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในวันโอนบ้านล่วงหน้าแล้ว แต่ถ้าเป็นการซื้อขายกับบุคคล ก็อาจจะไม่ได้รับข้อมูลจากผู้ขายอย่างชัดเจนว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างและเป็นจำนวนเงินเท่าไร
ผู้ซื้อจึงควรศึกษาหาข้อมูลและคำนวณราคาบ้านพร้อมค่าใช้จ่ายโอนบ้านล่วงหน้า เพื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายทั้งหมดก่อนตัดสินใจซื้อบ้าน และเพื่อเตรียมเงินจ่ายค่าโอนบ้าน ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ค่อนข้างสูงทีเดียว
ค่าใช้จ่ายในการโอนบ้าน ที่ดิน คอนโด
10 ค่าใช้จ่ายในการโอนบ้าน ที่ดิน คอนโดมิเนียม มีอะไรบ้างดูได้ที่นี่
ใครรับผิดชอบค่าโอนบ้าน
หลายคนอาจสงสัยว่าใครต้องเป็นคนจ่ายส่วนไหนในรายการต่าง ๆ ของค่าธรรมเนียมโอนบ้าน ซึ่งจะมีทั้งกรณีที่ผู้ซื้อเป็นคนจ่าย ผู้ขายเป็นคนจ่าย หรือจ่ายร่วมกัน แต่อย่างไรก็ตามไม่ได้มีกฎที่ระบุไว้ว่าใครต้องจ่ายค่าโอนบ้านส่วนใดบ้าง ซึ่งทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายตามความเหมาะสม แต่โดยทั่วไป แบ่งจ่ายดังนี้
1. ค่าธรรมเนียมโอนบ้าน
คิดเป็น 2% ของราคาประเมินที่ดินรวมสิ่งปลูกสร้าง โดยทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายร่วมกัน และแบ่งจ่ายกันคนละ 1% ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งอาจมีกรณีที่ผู้ขายที่เป็นบุคคลธรรมดาไม่ได้ลดราคาบ้านให้ แต่ผู้ขายมีข้อเสนอเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียมโอนบ้านทั้งหมด หรือกรณีอื่น ๆ ตามข้อตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยตรวจสอบราคาประเมินจากกรมธนารักษ์
2. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
โดยทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายของผู้ขาย คิดที่อัตรา 3.3% ของราคาซื้อขาย ทั้งนี้ผู้ขายต้องครอบครองบ้านเป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี แต่หากครอบครองมากกว่า 5 ปีขึ้นไป หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี ก็จะไม่ต้องจ่ายค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ผู้ขายต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์แทน
3. ค่าอากรแสตมป์
โดยทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายของผู้ขาย คิด 0.5% ของราคาซื้อขาย แต่ต้องไม่ต่ำกว่าราคาประเมินที่ดิน หากต่ำกว่า ให้ใช้ราคาประเมินที่ดินมาคำนวณ แต่ในกรณีที่ผู้ขายเข้าข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ก็ไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์
4. ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กรณีที่ผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดา ผู้ขายต้องชำระค่าภาษีนี้เพราะเป็นผู้มีรายได้จากธุรกรรมซื้อขาย การคิดค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นแบบอัตราก้าวหน้าหรือแบบขั้นบันได และจำนวนเงินที่เสียภาษีก็ขึ้นอยู่กับวิธีการที่ได้มากับจำนวนปีที่ถือครอง เช่น หากได้มาด้วยการซื้อและถือครองนาน ก็จะต้องชำระค่าภาษีโอนบ้านเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ พิจารณาจากราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของกรมที่ดิน โดยไม่ได้สนใจว่าราคาซื้อขายจริง ๆ เท่าไร
5. ค่าจดจำนอง
คิดเป็น 1% ของยอดเงินกู้ทั้งหมด และเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ซื้อบ้านโดยการกู้ ซึ่งหากซื้อเงินสด ก็ไม่ต้องเสียค่าจดจำนอง
คำนวณค่าโอนบ้าน เพื่อไม่เสียรู้ให้ต้องจ่ายแพง
เพื่อไม่ให้เสียผลประโยชน์หรือโดนเอาเปรียบจากผู้ขาย ก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้ง ผู้ซื้อควรคำนวณราคาบ้านรวมกับค่าโอนบ้านทั้งหมดในส่วนที่ผู้ซื้อเป็นคนจ่าย รวมไปถึงการจ่ายร่วมกันระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ แล้วนำค่าใช้จ่ายนั้นมาเปรียบเทียบกับผู้ขายรายอื่น ๆ เพื่อไม่ให้หลงกลผู้ขายที่ต้องการผลประโยชน์จากผู้ซื้อจนกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบจากการเสียค่าใช้จ่ายมากเกินความจำเป็นหรือเป็นผู้รับผิดชอบค่าโอนบ้านในส่วนที่ผู้ขายควรจ่าย
ตัวอย่างตารางเปรียบเทียบราคาขายบวกค่าโอนบ้านทั้งหมดว่าผู้ขายคนไหนทำให้ผู้ซื้อจ่ายน้อยกว่า
- ผู้ขาย A ผู้ซื้อและผู้ขายออกกันคนละครึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งหมด
- ผู้ขาย B ผู้ซื้อจ่ายเฉพาะค่าธรรมเนียมการโอนบ้านคนละครึ่งกับผู้ขาย
กรณีที่ 1 ผู้ขายถือครองทรัพย์ไม่เกิน 5 ปี
รายการ
A
B
ราคาบ้าน
4,000,000 บาท
4,000,000 บาท
ค่าธรรมเนียมการโอนบ้าน 2% (ทั้งหมด 80,000 บาท)
40,000 บาท
40,000 บาท
ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% (ทั้งหมด 132,000 บาท)
66,000 บาท
–
รวมค่าใช้จ่าย
106,000 บาท
40,000 บาท
ราคารวมทั้งสิ้น
4,106,000 บาท
4,040,000 บาท
กรณีที่ 2 ผู้ขายถือครองทรัพย์เกิน 5 ปี
รายการ
A
B
ราคาบ้าน
4,000,000 บาท
4,000,000 บาท
ค่าธรรมเนียมการโอนบ้าน 2% (ทั้งหมด 80,000 บาท)
40,000 บาท
40,000 บาท
ค่าอากรแสตมป์ 0.5% (ทั้งหมด 20,000 บาท)
10,000 บาท
–
รวมค่าใช้จ่าย
50,000 บาท
40,000 บาท
ราคารวมทั้งสิ้น
4,050,000 บาท
4,040,000 บาท
จากตารางจะเห็นได้ว่า หากซื้อกับผู้ขาย B จะได้ราคาที่ถูกกว่าผู้ขาย A เนื่องจากจ่ายเพียงค่าธรรมเนียมการโอนบ้าน 1%
วิธีคิดภาษีขายบ้าน-คอนโด และที่ดิน
วิธีคิดภาษีขายบ้าน คอนโด และที่ดิน พร้อม 3 ตัวอย่างวิธีคำนวณ
มาตรการรัฐลดค่าโอน-จดจำนอง
มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย ปี 2567 (ยังไม่มีประกาศออกมาว่าจะมีการต่อเวลามาตรการถึงปี 2568 หรือไม่) แบ่งเป็น
– ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 0.01%
– ลดค่าจดทะเบียนการจำนอง อสังหาริมทรัพย์จาก 1% เหลือ 0.01%
เฉพาะที่จดทะเบียนโอนในคราวเดียวกัน สำหรับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ อาคารที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว, บ้านแฝด, บ้านแถว, อาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าว หรือห้องชุดที่จดทะเบียนอาคารชุด
โดยมีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 7 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 7 ล้านบาท ต่อสัญญา โดยไม่รวมถึงกรณีการขายเฉพาะส่วน สำหรับผู้ซื้อที่เป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันนี้-31 ธันวาคม 2567
ตัวอย่างการคำนวณ
กรณีซื้อบ้านพร้อมที่ดินมูลค่า 7 ล้านบาท และวงเงินจำนอง 7 ล้านบาท
ค่าจดทะเบียน
ปกติ
ตามาตรการลดค่าโอน-จดจำนอง
การโอน
140,000 บาท
700 บาท
การจำนอง
70,000 บาท
700 บาท
รวม
210,000 บาท
1,400 บาท
อัปเดตมาตรการรัฐ ช่วยคนซื้อบ้าน
อัปเดตมาตรการรัฐ ช่วยคนซื้อบ้าน-คอนโด มาตรการไหนเหมาะสำหรับคุณ
อย่างไรก็ตาม ก่อนทำสัญญา ผู้ซื้อและผู้ขายควรตกลงเรื่องค่าโอนบ้าน ซึ่งรวมถึงค่าภาษี ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมไปถึงระบุลงไปในสัญญาให้ชัดเจนว่า ใครจ่ายส่วนไหน และส่วนไหนที่จะจ่ายร่วมกัน เพราะค่าโอนบ้านค่อนข้างสูง และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาโต้เถียงและผิดใจกันในวันโอนกรรมสิทธิ์
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ