นับถือหัวใจ! ดาราสาวไม่เคยลืมสามี พาลูกสาวมาทำบุญให้ทุกปีที่บ้านเกิด
ผ่านมา 9 ปีแล้ว สำหรับการจากไปของพระเอกหนุ่ม “ปอ ทฤษฎี สหวงษ์” ผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2559 แม้เวลาจะล่วงเลยไปนาน แต่ผลงานและเรื่องราวความดีของเขายังคงอยู่ในความทรงจำของแฟน ๆ อย่างไม่เลือนหาย
ล่าสุด “โบว์ แวนดา” ภรรยาของปอ ได้พา “น้องมะลิ” ลูกสาว เดินทางไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับปอที่วัดธรรมธีราราม (วัดป่าหลังโรงเลื่อย) จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นสถานที่เก็บอัฐิของพระเอกผู้ล่วงลับ
ในโซเชียลมีเดีย โบว์ได้โพสต์คลิปบรรยากาศการทำบุญที่เรียบง่าย พร้อมข้อความซึ้งใจว่า “9 ปี ตรงนี้ตลอดไป” ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับผู้ติดตาม
แฟนคลับต่างร่วมคอมเมนต์แสดงความคิดถึง พร้อมส่งกำลังใจ และข้อความซึ้ง ๆ มากมาย โดยหลายคนยังคงรำลึกถึงปอด้วยความรักและความเคารพเสมอ
Categories: NEWS
กรณีศึกษา ต่างประเทศ สร้างเศรษฐกิจท่องเที่ยว แบบ Man-made (ทำขึ้นมา) อย่างไร? ไทยทำอะไรได้บ้าง
Date Time: 16 ม.ค. 2568 11:49 น.
Video
“SOURI” อาณาจักรขนม วิน-เมธวิน | Brand Story Exclusive EP.6
“Summary“
- กรณีศึกษา ต่างประเทศ สร้างเศรษฐกิจท่องเที่ยวแบบ Man-made (มนุษย์ทำขึ้นมา) อย่างไร? ไทยทำอะไรได้บ้าง บนเส้นใหม่ เมื่อนักเดินทางโลก มุ่งใช้เงินแลกประสบการณ์ กระเป๋าหนัก ใช้จ่ายต่อหัวสูง อยู่นาน เที่ยวนาน “สวนสนุก- มหกรรมกีฬา – ดนตรี – สวนสนุก” ลงทุนสูงแต่คุ้มค่า แล้วไทยยังต้องรออะไร ?
– กก+ กLightฟังข่าว
Latest
“ทรัมป์” มาแล้ว!!!
ประเทศไทยกำลังจะมีงานเทศกาลดนตรีระดับโลก EDC Thailand 2025 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 ม.ค. 2568 ณ Boat Avenue Lakefront จ.ภูเก็ต
นับเป็นงานคาร์นิวัล EDM สมบูรณ์แบบที่ใหญ่ที่สุดที่มาแลนด์ดิ้งในประเทศไทย โดยราคาบัตรค่าเข้าสูงเริ่มต้น 4,800 บาท จึงคาดว่าเม็ดเงินที่จะเกิดขึ้นจากงานนี้คงมีไม่ต่ำกว่า 700-1,000 ล้านบาท จากความสนใจทั้งจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่บินลัดฟ้าเพื่อมางานนี้โดยเฉพาะ
จับ Journey ใหม่ของนักเดินทางระดับโลกที่มุ่งใช้เงินเพื่อแลกกับประสบการณ์ใหม่ๆ สอดคล้องกับเทรนด์การท่องเที่ยวแบบนักผจญภัยเพื่อแสวงหาประสบการณ์ใหม่ถือเป็นแนวโน้มสำคัญของการท่องเที่ยวโลกระยะข้างหน้า
โดยเฉพาะกลุ่มนักเดินทางซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ทั้งนักเดินทางวัยใสเจน Z และนักเดินทางรุ่นสร้างตัวเจน Y ที่ต้องการเผชิญโลกท่ามกลางความแปลกใหม่และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวแบบ Man-made Destination ระดับเวิลด์คลาส ทั้งตึกระฟ้าทันสมัย โรงแรมระดับห้าดาว สวนสนุก ศูนย์รวมความบันเทิงสำหรับครอบครัว (Family Entertainment Complex) ถูกมองว่าเป็นโอกาสและเป็นเครื่องขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบใหม่ โดยเฉพาะประเทศที่ขายเรื่องการท่องเที่ยวเป็นพระเอก
4 รูปแบบสำคัญของ Man-made Destination
- แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่น สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
- กิจกรรมเชิงประเพณี เช่น งานเทศกาลต่างๆ
- แหล่งท่องเที่ยวเพื่อความบันเทิง เช่น สวนสนุกและการแข่งขัน
- กิจกรรมเชิงธุรกิจ เช่น การประชุม/นิทรรศการระดับโลก
กรณีศึกษา Man-made Destination ระดับโลกที่สร้างเม็ดเงินมหาศาล
ซึ่งถ้าจะระบุให้เห็นภาพมากขึ้น สำหรับประเทศต้นแบบที่สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวรูปแบบดังกล่าว เช่น
- งานแข่งขันฟุตบอลโลก กาตาร์ (นักท่องเที่ยวใช้จ่าย 11,225-17,950 บาท/คน/ครั้ง)
- ดิสนีย์แลนด์ เซี่ยงไฮ้ (นักท่องเที่ยวใช้จ่าย 40,980-104,200 บาท/คน/ครั้ง)
- การแข่งขันรถยนต์ Formula One (F1) (นักท่องเที่ยวใช้จ่าย 33,881-54,757 บาท/คน/ครั้ง)
ข้อมูลจาก Krungthai COMPASS ระบุว่าประเทศกาตาร์คือตัวอย่างของการใช้อีเวนท์กีฬาสร้างรายได้ภาคท่องเที่ยว โดยภาพรวมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติของประเทศกาตาร์ฟื้นตัวได้ดีหลังโควิด-19
โดยปี 2565 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ที่ 2.6 ล้านคน ส่วนปี 2566 สามารถเติบโตต่อเนื่องได้ที่ 4.1 ล้านคน หรือขยายตัวกว่า 3 เท่าจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2562 ที่ 2.1 ล้านคน
สอดคล้องกับรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2566 ที่ 8.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 20.5% YoY โตได้กว่า 1.6 เท่าเมื่อเทียบกับรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2562
ปัจจัยหลักมาจากการเป็นเจ้าภาพงานฟุตบอลโลกปี 2565 (FIFA World Cup in Qatar 2022) ที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศกาตาร์เป็นจำนวนมากนั่นเอง
Disneyland ต้นแบบธุรกิจท่องเที่ยว ที่ไม่เคยเสื่อมมนต์ขลัง
อีกตัวอย่างคือประเทศญี่ปุ่นที่กลายเป็นสถานที่ความบันเทิงครบครันขนาดใหญ่ มีทั้ง Fuji Q Highland และ Tokyo Disneyland เป็นธีมพาร์คที่ทำให้ผู้เข้าชมรู้สึกเหมือนอยู่ในโลกหรือยุคสมัยที่แตกต่าง
นักท่องเที่ยวมักจะใช้จ่ายเพิ่มในการซื้อของที่ระลึกที่เกี่ยวข้องกับตัวละครหรือเรื่องราวที่ตนสนใจ
ค่าใช้จ่ายต่อคนของการเข้าชมดิสนีย์แลนด์เป็นตัวเลขที่สูง และหากเลือกเดินทางไปที่ดิสนีย์เวิร์ล รัฐฟลอริดา ในสหรัฐฯ จะมีรายจ่ายเฉลี่ย 17,950 บาทต่อคนต่อทริป
ความสำเร็จของดิสนีย์แลนด์ยังมาจากกลวิธีในการดึงดูดผู้เข้าชมให้เข้ามาใช้บริการและใช้จ่ายภายในสวนสนุกได้ตลอดทั้งปี ผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ
เช่น งานเทศกาลตรุษจีนในฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ ซึ่งจะมีการเฉลิมฉลองเทศกาลดังกล่าวด้วยการตกแต่งสวนสนุกในธีมตรุษจีน และมีการแสดงพิเศษที่สะท้อนวัฒนธรรมจีน หรืองานเทศกาลฮาโลวีน
ส่วนในช่วงปลายปีจะมีการฉลองเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่มีผู้เข้าชมในจำนวนที่สูงเพื่อรอดูพลุ ณ เวลาเที่ยงคืนเพื่อเข้าสู่วาระปีใหม่เป็นประจำทุกปี
Marina Bay Sands สิงคโปร์ เที่ยวได้ตลอดทั้งวัน
ขณะหนึ่งในตัวอย่างของ Man-made Destination ในรูปแบบศูนย์รวมความบันเทิงสำหรับครอบครัวที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกคือ Marina Bay Sands ซึ่งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ เพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนของเรา โดยเป็นรีสอร์ทและสถานบันเทิงครบวงจรที่เปิดให้บริการในปี 2553 ใช้เงินลงทุนสูงถึงราว 2.4 แสนล้านบาท โดยดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งวันโดยไม่จำเป็นต้องออกไปไหน
Krungthai COMPASS ยังวิเคราะห์ต่อว่าแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างขึ้นเพื่อการพักผ่อน (Man-made Destination) ถือเป็นมรดกสืบทอดการสรรค์สร้างจากรุ่นสู่รุ่น มีพัฒนาการมาตั้งแต่อดีตตั้งแต่สถาปัตยกรรมโบราณที่โดดเด่น อาทิ พีระมิดในอียิปต์ ไปจนถึงอาคารตึกระฟ้าในยุคปัจจุบัน เช่น ตึกเบิร์จ คาลิฟา ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ซึ่งประเทศไทยควรนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและปลุกการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ๆ ให้กับประเทศ
ในการช่วยสร้างความหลากหลายและกระจายความแออัดของแหล่งท่องเที่ยวจากการมีนักท่องเที่ยวล้นเมือง หรือ Overtourism ที่อาจส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมลงและกระทบต่อวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น
การเพิ่มสถานที่ท่องเที่ยวที่สร้างขึ้นจะช่วยเพิ่มเติมผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวและดึงดูดนักเดินทางกลุ่มใหม่ที่แสวงหาประสบการณ์ต่างออกไป ลดการพึ่งพาโบราณสถาน และช่วยอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติได้อีกทางหนึ่งด้วย Man-made Destination จึงเป็นการลงทุนที่น่าจับตา อันจะช่วยสร้างแต้มต่อเพิ่มเติมสำหรับภาคการท่องเที่ยวของไทย
Man-made อาจเป็นทางรอดของ ท่องเที่ยวไทย
ทั้งนี้ ข้อมูลของ IAAPA ซึ่งเป็นองค์กรธุรกิจสวนสนุกระดับโลก พบว่าสวนสนุกเป็นแหล่งท่องเที่ยว Man-made ที่ครองใจคนไทย โดยในปี 2566 มีผู้เยี่ยมเยือนสูงถึง 7.4 ล้านคน คาดการณ์ว่า ณ สิ้นปี 2567 จะแตะระดับ 9.1 ล้านคน ส่วนนักเดินทางต่างชาติ คาดว่าจะทะลุ 1.0 ล้านคนได้
ซึ่งหากเจาะตลาดชาวต่างชาติที่ท่องเที่ยวแบบ Man-made จะพบว่ากลุ่มที่เข้าเยี่ยมเยือนสวนสนุกมีศักยภาพสูงในการพัฒนา เนื่องจากจะเป็นกลุ่มที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวสูงแตะหลักล้านคนทั้งยังมีแนวโน้มโตต่อเนื่อง
ในมุมมองด้านการลงทุนนั้น แม้การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างเพื่อการพักผ่อนจะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่จากการถอดบทเรียนจากในต่างประเทศ พบว่ามีความคุ้มค่าเมื่อเทียบระหว่างมูลค่าผลตอบแทนเชิงรายได้ต่อหัวจากผู้เยี่ยมเยือนกับค่าใช้จ่ายที่ลงไป
พร้อมคาดว่าในปี 2568 นักเดินทางกลุ่ม Man-made ที่เป็นชาวต่างประเทศจะสร้างเม็ดเงินรายรับเข้าประเทศสูงถึง 1.8 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.9% ของจีดีพี
นอกจากนี้ ยังประเมินว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวของนักท่องเที่ยวแบบ Man-made ในปี 2568 จะอยู่ที่ประมาณ 58,300 บาทต่อคนต่อทริป สูงกว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ โดยนักเดินทางกลุ่มนี้มักมีจำนวนวันพักนานและมีรายจ่ายที่สูงกว่านักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นๆ